Search

เปิดพิมพ์เขียว แก้รัฐธรรมนูญ ตัดอำนาจ ส.ว. ยกเลิกนิรโทษกรรม คสช. - ประชาชาติธุรกิจ

crime-cimne.blogspot.com

เปิดพิมพ์เขียว ข้อเสนอแก้รัฐธรรมนูญ ตัดอำนาจ ส.ว. ยกเลิกนิรโทษกรรม คสช.

นาทีนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 กลายเป็นฉันทามติทั้งในสภา – นอกสภา โดยจุดเริ่มต้นมาจากม็อบนิสิต นักศึกษา

กลายเป็นการเมืองกระแสหลักที่รัฐบาลไม่อาจปฏิเสธ “วิรัช รัตนเศรษฐ” ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล ที่ประชุมมีมติจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2560 แต่ไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 รวมถึงให้มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นด้วย

สอดคล้องกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของ 6 พรรคฝ่ายค้านที่ให้มีการตั้ง ส.ส.ร. แต่ไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 แต่มีเงื่อนไขของพรรคกก้าวไกลที่ขอ “สงวนความเห็น” ไว้ไปอภิปรายเรื่องนี้ในที่ประชุมสภาขั้นตอนการตั้งคณะกรรมาธิการ

ซีกรัฐบาล คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ชุดที่มี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธานกรรมาธิการ เตรียม “ชง” ข้อเสนอให้รัฐบาลไปพิจารณา

ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะแนบ “ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ของรัฐบาลมาประกบ

ว่ากันว่า เกมแก้รัฐธรรมนูญในสภา จะเริ่มต้นก่อนปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 19 กันยายน ที่จะถึงนี้

อัพเดทล่าสุดในเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญซีกรัฐบาล กมธ.วิสามัญศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์ – แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่มี “พีระพันธุ์” เป็นประธาน

คณะอนุกรรมาธิการศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น ที่มี “ไพบูลย์ นิติตะวัน” เป็นประธาน ได้ชงแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ในหลากหลายประเด็น

แต่ที่ปมเดือดทั้งใน – นอกสภา มีแค่ 2 หัวข้อหลักคือ 1.วิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ว่ากันว่ายากเย็นแสนเข็ญ เพราะติดล็อกรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องได้รับการเห็นชอบจากทุกพรรคการเมือง และสมาชิกวุฒิสภา 2.การยกเลิก 250 ส.ว.ในบทเฉพาะกาล และล้างผลพวงรัฐประหาร

เริ่มจากวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มีการหารือ ทั้งแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และการแก้ไขเนื้อหาในบทบัญญัติมาตรา 256

ชง 3 ช่องรื้อรัฐธรรมนูญ

ใจความ “ข้อสรุป” ของ กมธ.ถึงแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มี 2 ข้อที่เป็นปัญหา 1. ปัญหาเกี่ยวกับเงื่อนไขในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จำเป็นจะต้องได้รับความเห็น พ้องต้องกันจากทุกฝ่าย (ส.ส.ทุกพรรคและ ส.ว.84 เสียงขึ้นไป) ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 256 ซึ่งอาจทำให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ประสบความสำเร็จ และอาจส่งผลให้เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณได้

2.ปัญหาเกี่ยวกับความชอบธรรมของที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉันทามติจากประชาชน และเห็นว่าบทบัญญัติอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาหลายมาตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบัญญัติในมาตรา 256 นั้น ทำให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ดังนั้น คณะอนุกรรมาธิการ ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหา 3 ทาง แนวทางที่ 1 ควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตราที่เห็นว่ามีปัญหาด้วย กระบวนการที่บัญญัติในมาตรา 256 ยกเว้นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะต้องไปผ่านการลงประชามติ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 256 (8)

เนื่องจากการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในมาตรา 256 หรือการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็อาจมีอุปสรรคเนื่องจากต้องจัดทำประชามติ หรือเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้อาจ เสียงบประมาณแผ่นดินเป็นจำนวนมากถึง 3 พันล้านบาท หรือ 1 หมื่นล้านบาท แล้วแต่กรณี

แนวทางที่ 2  เพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญประสบความสำเร็จ ต้องแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา

ช่วงเวลาที่ 1.การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในช่วงที่มีวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล สามารถทำได้ แก้ไขบทบัญญัติรายมาตรามีปัญหาเร่งด่วนไปก่อน

แล้วค่อยแก้ไขกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ต้องได้รับการเห็นชอบจาก ส.ว. (โดยกำหนดให้มีผลหลังจากวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) ซึ่งเป็นเวลาที่ ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล พ้นวาระทำหน้าที่ 5 ปีไปแล้ว

ช่วงเวลาที่ 2 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเมื่อ ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลพ้นวาระ 5 ปี ซึ่งสามารถแก้ไขประเด็นอื่น ๆ นอกเหนือจากที่แก้ไขไปแล้วในช่วงแรกได้ แต่ไม่ว่าจะแก้ไข ให้เป็นอย่างไร ก็จะต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม และมีการรับฟังความเห็นจากประชาชนอย่างแท้จริง

แนวทางที่ 3 ควรมีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ อย่างแท้จริง

ดังนั้น เมื่อช่องทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 ทำได้ยาก หรือแทบ “เป็นไปไม่ได้” เพราะต้องได้รับการเห็นชอบจากทั้ง ส.ส.และ ส.ว. อีกทั้งบทบัญญัติในมาตรา 256 (8) กำหนดประเด็นที่จะต้องไปทำประชามติ เช่น อำนาจศาล อำนาจองค์กรอิสระ และคุณสมบัติตำแหน่งต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ

ลดอำนาจ ส.ว.ขวางแก้รัฐธรรมนูญ

ข้อเสนอแนะในการแก้ไขมาตรา 256 เพื่อ “ปลดล็อก” ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ง่ายขึ้น ทาง กมธ.จึงเสนอทางออกไว้ 5 ทาง

แนวทางที่ 1  แก้ไขกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เหมือนกับที่เคยบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

แนวทางที่ 2  ในช่วงที่ ส.ว.ในบทเฉพาะกาลยังทำหน้าที่อยู่ ควร “ตัดเงื่อนไข” ที่กำหนดให้ ส.ว.ต้องเห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว.ทั้งหมดที่มีอยู่ คือ 84 เสียง

แนวทางที่ 3 กำหนดให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องได้รับความเห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยให้มีผลหลังจากวันที่ 11 พฤษภาคม 2567

แนวทางที่ 4 แก้ไขมาตรา 256 (8) โดยกำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หน้าที่และอำนาจของศาล และองค์กรอิสระ หรือเรื่องเกี่ยวกับ คณะสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงต แหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องผ่านการออกเสียงประชามติ

แนวทางที่ 5 แก้ไขมาตรา 256 (8) โดยกำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวกับบททั่วไป พระมหากษัตริย์ หน้าที่และอำนาจของศาล และองค์กรอิสระ หรือเรื่องเกี่ยวกับคณะสมบัติ หรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องผ่านการออกเสียงประชามติ

รื้อ ส.ว.ทหาร ลบมาตรานิรโทษ คสช.

สำหรับ “ใจกลาง” อุปสรรคการแก้รัฐธรรมนูญคือ ส.ว.ตามบทเฉพาะกาล เพราะเป็น “ด่าน” สำคัญที่จะ

กมธ.สรุป “ปัญหา” ของ ส.ว.สายตรงทหาร 250 คนว่า  ส.ว.ตามบทเฉพาะกาลในทางปฏิบัตินั้นขาดความหลากหลาย อีกทั้ง การคัดเลือก ส.ว.จากกรรมการสรรหาบางท่านก็เกิดคำถามเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ แต่กลับให้อำนาจค่อนข้างมาก

ทั้งอำนาจในการติดตาม เร่งรัด และเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศตลอดจนการพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการให้อำนาจ ที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับที่มาของวุฒิสภาแล้ว เห็นว่าน่าจะไม่เหมาะสม

2.ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ ยังให้อำนาจ ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ ได้ถึง 2 สมัย เมื่อเทียบกับที่มาของ ส.ว.แล้ว ก็เกิดคำถามว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

กมธ.จึงมีข้อเสนอแนะ ว่า  ควรมีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติในประเด็นที่กล่าวถึงที่มาของ ส.ว.ในบทเฉพาะกาล และอำนาจให้เหมาะสม

นอกจากนี้ ยังการศึกษายังแตะไปถึง มาตรา 279 ที่รองรับความชอบด้วยกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ที่รับรองการกระทำ คำสั่ง และประกาศของ คสช.ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

โดย กมธ.สรุปว่า “ขัดต่อหลักนิติธรรมเพราะส่งผลให้การกระทำของ  คสช.ไม่สามารถถูกตรวจสอบได้”

จึงมีข้อเสนอแนะ “ควรยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าว”




August 21, 2020 at 07:43PM
https://ift.tt/31lqcfq

เปิดพิมพ์เขียว แก้รัฐธรรมนูญ ตัดอำนาจ ส.ว. ยกเลิกนิรโทษกรรม คสช. - ประชาชาติธุรกิจ

https://ift.tt/39v22A5


Bagikan Berita Ini

0 Response to "เปิดพิมพ์เขียว แก้รัฐธรรมนูญ ตัดอำนาจ ส.ว. ยกเลิกนิรโทษกรรม คสช. - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.